วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

ดอกไม้ประจำชาติ



ลำดวน  ดอกไม้ประจำชาติ กัมพูชา

                ชื่อพื้นเมือง        รอมดวล

                ลักษณะทั่วไป    เป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 5 - 20 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปกรวย หนาทึบ ลำต้นเปลาตรง  มีเปลือกสีน้ำตาลแตกขรุขระ เป็นสะเก็ด   

                                           
                ใบ                    ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก กว้าง 2.5-4 ซม. ยาว 5-11.5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม  โคนใบสอบหรือมน

               ดอก                  ดอกมีสีนวลกลิ่นหอม ออกเดี่ยวตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกหนาและแข็ง  กลีบดอก ชั้นนอก 3 กลีบแผ่  ชั้นใน 3 กลีบ หุบเข้าหากัน  เมื่อกลีบบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร
                                          
                ผล                  เป็นผลกลุ่ม ทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.6 เซนติเมตร สีเขียว เมื่อสุกสีดำรสหวานอมเปรี้ยว
                                            
               ด้านภูมิทัศน์     เป็นตันไม้สำหรับสุภาพสตรี วิธีปลูกที่ถูกต้อง ต้องปลูกไว้ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน
             
                                           
                

สัตว์ประจำชาติ


กูปรีหรือโคไพรเป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศกัมพูชา  เป็นสัตว์จำพวกกระทิงและวัวป่า มักอยู่รวมเป็นฝูง โดยฝูงหนึ่งอาจมากถึง 20 ตัว จัดว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบเห็นยากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก  ปัจจุบันไม่มีการรายงานการพบมานานแล้ว เชื่อว่าอาจจะยังพอมีหลงเหลืออยู่ในชายแดนไทยกับกัมพูชาแถบจังหวัดศรีสะเกษ  ในปี 2507 เจ้านโรดมสีหนุแห่งกัมพูชาทรงประกาศให้กูปรีเป็นสัตว์ประจำชาติของกัมพูชา

สถานที่สำคัญ

  มหาปราสาทนครวัด
หหาประสาทนครวัดสถานที่ท่องเที่ยวอันดับหนึ่งในประเทศกัมพูชา ที่มีชื่อเสียงเกรียงไกร ดึงดูด ชาวต่างชาติ หลายหลายภาษาและวัฒนธรรมเข้ามาท่องเที่ยวและทำความรู้จักกับประเทศกัมพูชา ตามประวัติแล้ว ปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้น เพื่อเป็นศาสนสถานอุทิศถวายพระวิษณุ ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 และ สิ่งที่สร้างชื่อให้แก่ปราสาทแห่งนี้  ก็คือ ความยิ่งใหญ่ ของตัวปราสาท ที่เริ่มตั้งแต่สะพานนาคและ คูน้ำรอบรอบตัวปราสาท  องค์ปราง  5 ยอด และ ระเบียง คต ภายในตัวปราสาท   ที่รอบ ๆ ผนังของระเบียงคตจะ ถูกแกะสลักรูปนางอัปสรา มากกว่า 1000 องค์ โดยที่แต่ละองค์ จะมีเครื่องแต่งกายและ ทรงผม ไม่ซ้ำแบบกันเลย  และ จะมีเพียงองค์เดียวเท่านั้นที่ยิ้มเห็นฟัน   ถ้ามีโอกาศได้ไป ต้อง ลองหาดู ว่า นางอัปสราองค์นี้อยู่ตรงใหน  ถัดเข้าไปดุด้านในอีกชั้น จะเป็น ผนังรอบปรางค์ประธานทั้ง 4 ด้าน   ที่มีการแกะสลักเรื่องราว เกี่ยวกับศาสนาฮินดู และ การยกทัพสู้รบในอดีต  โดยเฉพาะระเบียงคตตะวันออก ด้านทิศใต้ ที่แกะสลักเป็นเรื่องราวของการกวนเกษียรสมุทร  และ ระเบีงคตทิศใต้ ด้านตะวันตก ที่แกะสลักเรื่องราวกองทัพของพระเจ้าสุริยวรมันที่สอง ที่แสดง ให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของชนชาติขอมในสมัยนั้น     และ ถ้าหากได้มีโอกาสขึ้นไป บนยอด ของปรางประธาน   เราสามารถชมวิวเมืองนครวัด ในมุมสูง ที่สวยงามมาก

เงินตรา


งินกัมพูชาเป็นเงินสกุลเงินเรียล (Riels)
1 เรียล = 1 สตางค์ ,1,000 เรียล = 10 บาท
อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลล่า US ประมาณ  3,700 - 3,800 เรียล2

อาหารกัมพูชา


 

อาม็อก (Amok)
                         อาม็อก (Amok) อาหารยอดนิยมของกัมพูชา ลักษณะคล้ายห่อหมกของไทย  โดยมากแล้วนิยม
              ปรุงเนื้อปลาลวก
ด้วยพริกเครื่องแกงและกะทิ แล้วทำให้สุกโดยการนำไปนึ่ง บางตำรับอาจใช้เนื้อไก่หรือ
             หอยแทน สาเหตุหนึ่งที่คนในประเทศ
นี้นิยมรับประทานปลา เพราะเป็นอาหารที่หาได้ง่าย เนื่องจากสภาพ
              ภูมิประเทศที่มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่อยู่ตรงกลาง

ภาษา

  "อักษรมูล"
       อักษรมูล เป็นตัวอักษรที่เดิมใช้ในการเขียนหนังสือธรรม  เช่น  คัมภีร์พระไตรปิฎก,
หนังสือเทศน์   ปัจจุบันมักใช้ในงานศิลป์ 
/ ป้ายโฆษณา หรือ งานเขียน ที่ต้องการให้มีจุด
เด่นพิเศษ เช่น ชื่อหนังสือ ชื่อบทชื่อหัวข้อ หรือชื่อเฉพาะ    อักษรมูลนี้ หากดัดแปลงให้
ตัวอักษรบางตัว ให้มีเส้นน้อยลง จะเรียกว่า  " อักซอคอม" หรือ อักษรขอม 
  แต่โดยทั่ว
ไป ชาวเขมรจะเรียกอักษรทั้ง 
แบบนี้ว่า อักษรมูล
        อักษรมูล นี้ ถือเป็นต้นแบบที่ คนไทยในสมัยก่อน 
 ทั้งในภาคกลาง ภาคอีสานและ
ภาคใต้ (ยกเว้นภาคเหนือ) 
 นำมาใช้ในการเขียนหนังสือทางศาสนา 
และจัดบันทึกทั่วไป
โดยใช้คำไทยเขียนด้วยภาษาขอมเรียกว่า " อักษรขอมไทย " และพัฒนเปลี่ยนแปลง
ตามลำดับจนกลายมาเป็น อักษรไทย ในปัจจุบัน


  อักษรมูล ( ไม่ได้แสดงตัวเชิง)

ศาสนา

ศาสนา ในสมัยโบราณชาวกัมพูชานับถือภูตผี และเชื่อในเวทย์มนต์คาถาต่าง ๆ เช่นเดียวกับคนในสมัยโบราณอื่น ๆ ต่อมาแม้ชาวกัมพูชาจะได้นับถือศาสนาต่าง ๆ แล้วก็ตาม แต่ในส่วนลึกของจิตใจก็ยังคงภูติผีและไสยศาสตร์อยู่ 
            ก่อนที่คอมมิวนิสต์จะเข้าปกครองประเทศ ประชาชนชาวกัมพูชานับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ ๙๕ ที่เหลือนับถือคริตศาสนานิกาย นิกายโรมันคาทอลิก และนิกายโปรเตสแตนท์ ส่วนศาสนาอิสลามนั้นพวกที่นับถือได้แก่ ผู้ที่มีเชื้อสายแขกจาม และเชื้อสายมลายู 
            พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของกัมพูชา เป็นฝ่ายเถรวาท และมีสองนิกายคือมหานิกาย และธรรมยุตินิกาย เช่นเดียวกับของไทย

ผู้นำประเทศ

ประมุข พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี (Preah Bat Samdech Preah Boromneath Norodom Sihamoni)
ผู้นำรัฐบาล สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซน นายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรีต่างประเทศ นายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศ

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

ธงชาติกัมพูชา

 ชาติกมฺพุชา; ต็วงเจียตกำปูเจีย) มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ผืนธงแบ่งตามแนวยาวเป็น 3 ริ้ว โดยริ้วกลางนั้นเป็นพื้นสีแดง กว้าง 2 ส่วน มีรูปปราสาทหินนครวัดสามยอดสีขาวอยู่ตรงกลาง ริ้วที่อยู่ด้านนอกทั้งสองด้านนั้นกว้างริ้วละ 1 ส่วน พื้นสีน้ำเงิน ความหมายของสัญลักษณ์ในธงนั้นสะท้อนถึง 3 สถาบันหลักของประเทศ ดังปรากฏในคำขวัญประจำชาติว่า "ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์" (เขมรជាតិ សាសនា ព្រះមហាក្សត្រ ชาติ สาสนา พฺระมหากฺสตฺร) โดยพื้นสีแดงมีความหมายถึงชาติ ปราสาทนครวัดสีขาวหมายถึงสันติภาพและศาสนา ซึ่งเดิมมีรากเหง้าจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน ส่วนสีน้ำเงินนั้นหมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ [1] ซึ่งก็เหมือนกับธงชาติไทย ที่สีแดงคือชาติ สีขาวคือศาสนา และสีน้ำเงินคือพระมหากษัตริย์นั่นเอง

วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

กัมพูชา




กัมพูชา หรือชื่อทางการคือ 
ราชอาณาจักรกัมพูชา เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ (Phnom Penh) กัมพูชาเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทางทิศใต้จรดกับอ่าวไทย ทางทิศตะวันตกติดกับประเทศไทย ทางทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทางทิศตะวันออกติดกับเวียดนาม กัมพูชาเป็นอดีตประเทศอาณานิคมของฝรั่งเศสในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพียงแค่ประเทศเดียวเท่านั้นที่มีการปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐ ธรรมนูญ
กัมพูชาตั้งอยู่กลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศเหนือติดกับประเทศไทย (จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์) และลาว (แขวง อัตตะปือและจำปาสัก) ทิศตะวันออกติดเวียดนาม (จังหวัดกอนทูม เปลกู ซาลาย ดั๊กลั๊ก ส่องแบ๋ เตยนิน ลองอาน ด่งท๊าบ อันซาง และเกียงซาง) ทิศตะวันตกติดประเทศไทย (จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด) และทิศใต้ติดอ่าวไทย ขนาด กว้าง 500 กิโลเมตร ยาว 450 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย เส้นเขตแดนโดยรอบประเทศยาวประมาณ 2,000 กิโลเมตร โดยมีเส้นเขตแดนติดต่อกับประเทศไทยยาว 798 กิโลเมตร 

เเนะนำตัวเอง

ชื่อ ปุณยนุช นามสกุล เขมสันติพงศ์ ป.4 อายุ 10 ปี
โรงเรียนวัดมหรรณพ์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
เพื่อนสนิท กาก้า ใบเตย หลินจือ ตูน
อาหารที่ชอบ ข้าวมันไก่ ข้าวผัดกุ้ง
สถานที่ท่องเที่ยวเเนะนำ หัวหิน พัทยา
วิชาโปรด คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ